top of page

ผลกระทบของเกมออนไลน์ต่อสังคมไทย

โดย นางสาววรลักษณ์ โล่ห์สุริยะ

 

        สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปัญหาหลักของเด็กและเยาวชน คือ เหล้า บุหรี่ การหนีเรียน ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ การพนัน การติดเกม ออนไลน์ การอบรมเลี้ยงดู และการใช้ความรุนแรง ที่จะต้องรีบแก้ไข เพราะจากการสำรวจในหลายสำนักพบว่าต่างเป็นปัญหาที่สอดคล้องกัน และเป็นปัญหาที่รุนแรง หนักหน่วง น่าเป็นห่วง และในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาสร้างประโยชน์ให้แก่มนุษย์มากมาย แต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ทำให้เกิดโทษแก่มนุษย์เช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับเกมออนไลน์อันเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม-วัฒนธรรมแก่สังคมไทย โดยเกมส่งผลกระทบต่อคนและสังคมโดยตัวของมันเอง

       หากพิจารณากฎหมายที่มีอยู่ พบว่าปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับเกมออนไลน์โดยตรง จึงมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในการจัดการผลกระทบของเกมออนไลน์ เนื่องจากเกมออนไลน์มีลักษณะเสมือนดาบสองคมกล่าวคือ มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสังคมไทย ดังนั้นการจัดการจึงต้องมีทั้งการควบคุมและการส่งเสริมเกมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการจัดการผลกระทบของเกมออนไลน์ที่รอบด้าน มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมไทย

หากพิจารณาถึงมาตรการในการจัดการผลกระทบของเกมออนไลน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า มีองค์กรของภาครัฐที่เข้ามาจัดการเรื่องดังกล่าว โดยมีมาตรการทั้งที่เป็นการส่งเสริมและควบคุมอย่างชัดเจน แต่มาตรการส่วนใหญ่เป็นการจัดการต่อปัญหาที่ปลายเหตุ ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ จึงทำให้เกิดผลกระทบจากมาตรการในการจัดการของภาครัฐทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมา

ฉะนั้น ภาครัฐจึงควรสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกและจริยธรรมที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเกมออนไลน์ และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์เกมออนไลน์ขึ้นเองในสังคมไทย เพื่อเป็นทุนทางสังคมของสังคมไทยบนอินเตอร์เน็ตให้แก่สังคมไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งในระยะยาวจะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยที่ยั่งยืน

ในส่วนของการจัดการภาคเอกชนพบว่า ภาคเอกชนได้มีการจัดการต่อผลกระทบของเกมออนไลน์ แต่มาตรการส่วนใหญ่เป็นเพียงการดำเนินการขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ยังไม่มีองค์กรใดเป็นองค์กรหลักเข้ามาจัดการผลกระทบของเกมออนไลน์ ทำให้มาตรการของภาคเอกชนไม่มีความเข้มแข็ง ขาดความชัดเจน อันส่งผลให้มาตรการในจัดการของภาคเอกชนไม่บรรลุผลเท่าที่ควร

        ดังนั้น เพื่อให้การจัดการผลกระทบเกมออนไลน์มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย เนื่องจากรัฐไม่สามารถจะดำเนินการได้เองทั้งหมด โดยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนรวมตัวกันเข้ามามีบทความ

ส่วนร่วมในการจัดการ และรัฐเป็นเพียงผู้กำกับดูแล หรือภาครัฐอาจจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการต่อเรื่องดังกล่าว อันจะทำให้เกิดการจัดการผลกระทบของเกมออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม

        กล่าวโดยสรุปแล้ว มาตรการที่ควรจะเร่งดำเนินการเป็นอันดับแรก คือ การปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจ ผลกระทบที่จะเกิดจากเทคโนโลยีให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง ครู บุคคลในส่วนต่างๆ ของสังคมอันนำไปสู่การกำหนดกฎหมายจารีตประเพณีซึ่งใช้สามารถบังคับได้จริง และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และสร้างจริยธรรมให้แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในการรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้จะต้องเร่งผลิตบุคลากรขึ้นมาสร้างสรรค์เกมออนไลน์ในสังคมไทย เพื่อส่งเสริมการประกอบการให้แก่ผู้ประกอบการเกมออนไลน์ ผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต โดยผู้สร้างสรรค์เกมจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งในระดับภายในและในระดับกฎหมายระหว่างประเทศ

การจัดการผลกระทบของเกมออนไลน์ จึงไม่อาจใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรในการควบคุมหรือส่งเสริมโดยตรงเท่านั้น แต่อาจจะต้องใช้กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเข้ามาเสริมสร้าง เพื่อให้เกิดกลไกในการจัดการเกมออนไลน์อย่างแท้จริงขึ้นในสังคมไทย

ผลกระทบของเกมออนไลน์จะหมดจากสังคมไทยได้ เมื่อทุกฝ่ายหันหน้าร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมให้กับลูกหลานไทยที่ดีขึ้นต่อไป

………………………………………..

Cr. http://icgp.thaissf.org/autopagev4/files/TOopXmEMon32252.pdf

 

 

bottom of page